วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กิจกรรมที่1 : วิชาเฉพาะแพทย์


TCAS หรือ Thai University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 เป็นระบบที่ออกแบบโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
TCAS มีขั้นตอนอย่างไร
ระบบ TCAS ที่ทาง ทปอ. ได้ประกาศออกมา มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
ในรอบนี้จะพิจารณาจากผลงานของนักเรียนที่นำมาใส่ Portfolio ไม่มีการสอบข้อเขียน ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะคัดเลือกนักเรียนจำนวนหนึ่ง อาจจะมีกาสัมภาษณ์หรือทดสอบทักษะเฉพาะทาง โดยการคัดเลือกในรอบนี้เป็นแค่การ Pre-screening เท่านั้น
2. สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่
ในรอบนี้จะเป็นการรับนักเรียนแบบโควตา สำหรับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ หรือ รอบเขตการศึกษา ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด ในขั้นตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยสามารถจัดสอบเองได้เลย หรือจะใช้ข้อสอบส่วนกลาง อย่าง 9วิชาสามัญ หรือ GAT/PAT เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา
3. การรับตรงร่วมกัน
ในรอบนี้เป็นการสอบรับตรง ซึ่งโครงการรับตรงอย่าง กสพท. ก็รวมอยู่ในรอบนี้ด้วย โดยทาง ทปอ. จะเป็นส่วนกลางในการรับสมัครในรอบนี้ และทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผลการคัดเลือก โดยผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา
4. การรับ Admission
ในรอบนี้ยังคงใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกแบบ Admission โดยใช้องค์ประกอบของคะแนน อย่างเช่น GPAX, O-NET, GAT/PAT หรืออื่นๆ ซึ่งผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา
5. การรับตรงแบบอิสระ
ทางมหาวิทยาลัยสามารถใช้เกณฑ์การสอบที่จัดขึ้นเอง หรือการสอบวิชาเฉพาะ และส่งผลการคัดเลือกให้ทาง ทปอ.
เหมือนหรือแตกต่าง?

ทุกๆคนคงจะสงสัยว่ามันต่างกับการคัดเลือกที่ผ่านๆมายังไง ระบบTCAS มีการเพิ่ม Clearing-House เป็นระบบที่ใช้ในการยืนยันสิทธิ์ ซึ่งผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในแต่ละรอบจะต้องกดยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์ในการที่จะเข้าเรียนได้แค่คนละ 1 ที่ เท่านั้น ระบบนี้สร้างมาเพื่อไม่ให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกหลายๆที่พร้อมกัน “กันที่” ของคนอื่นนั่นเอง และยังสะดวกต่อทางมหาวิทยาลัยในการนับจำนวนคนอีก



กสพท. คืออะไร ต้องสอบอะไรบ้าง ???


สพท. ที่ได้ยินกันคุ้นหูหรือเรียกจนติดปาก คือชื่อย่อ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่ง กสพท ในปี 2561 เป็นการรวมกลุ่มของคณะแพทยศาสตร์ 16 สถาบัน คณะทันตแพทยศาสตร์ 9 สถาบัน และคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ 8 สถาบัน และเภสัชศาสตร์ 11 สถาบัน ซึ่งในปีการศึกษา 2561 กสพท อยู่ในรอบที่ 3 การรับตรงร่วมกันในระบบ TCAS
ผู้สมัครที่เลือก กสพท จะสามารถเลือกในลำดับย่อยใน กสพท ได้ 4 ลำดับ เรียงลำดับตามความต้องการเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา มาดูข้อมูลปี 57-61 กันค่ะ
ตารางจำนวนรับผ่านระบบ กสพท. (ข้อมูลปี 57 – 61)
การสอบ กสพท. ปีจำนวนรับ
กลุ่มแพทย์25572558255925602561
แพทยศาสตร์12151208119812131391
ทันตแพทยศาสตร์260279274255328
สัตวแพทยศาสตร์120215272
เภสัชศาสตร์160675
รวม147514871592 1843 2666
เห็นได้ว่าจำนวนที่เปิดรับคณะแพทยศาสตร์จะอยู่ในกรอบ 1198 – 1391 ที่นั่ง ถือว่ามีจำนวนที่สูง คณะทันตแพทย์ก็จะโดดขึ้นมาหลัก 328 ที่นั่ง ส่วนคณะเภสัชศาสตร์เพิ่งเริ่มเข้า กสพท. เมื่อปี 60 และมีจำนวนรับที่เพิ่มขึ้นสูงมาก แต่จากตารางที่แสดงมานั้นก็พอจะทำให้เราตระหนักได้ทันทีว่าสนามนี้สำคัญกับว่าที่แพทย์จริงๆ

สอบ กสพท. ใช้คะแนนกี่ส่วน แต่ละส่วนสอบอย่างไรบ้าง
          ตรงนี้คือสิ่งที่สำคัญมากทั้งการทำความเข้าใจ การทบทวนหนังสือ การลำดับความสำคัญในการเตรียมตัวสอบ เพราะ ติดไม่ติดแพทย์ กสพท. วัดจากองค์ประกอบ 2+1 อันได้แก่
1.วิชาเฉพาะ หรือ วิชาความถนัดแพทย์ คือวิชาที่สมัครสอบพร้อมสมัคร กสพท. ใช้เป็นสัดส่วนทั้งหมด 30% โดยประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1.1 เชาว์ปัญญา เช่น คณิตศาสตร์ อนุกรมเลข อนุกรมภาพ การอ่านจับใจความ เป็นต้น
1.2 จริยธรรมทางการแพทย์ ซึ่งไม่มีสอนในห้องเรียน
1.3 ทักษะการเชื่อมโยง คล้ายๆกับ GAT ที่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้างนะคะ
สัดส่วนคะแนนของวิชาความถนัดแพทย์ถือเป็นวิชาที่มีค่าน้ำหนักสูงที่สุด น้องจึงต้องวางแผนและเตรียมตัวให้ดี
2.วิชาสามัญ
คือการสอบที่จัดสอบโดย สทศ. ใช้ 7 วิชา ในสัดส่วน 70% ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)  มีน้ำหนักคะแนน 40% คณิตศาสตร์1   20% ภาษาอังกฤษ 20% ภาษาไทย10% สังคมศึกษา 10% โดยมีเกณฑ์ที่ต้องสอบได้เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 30 ทุกกลุ่มสาระวิชา
3.O-NET ม.6
ข้อสอบวัดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน โดย O-NET จะไม่ได้นำมาเป็นสัดส่วนในองค์ประกอบการคิดคะแนน แต่น้องจะต้องทำคะแนนรวมทุกวิชาไม่ต่ำกว่า 60% ดังนั้นประเภทการสอบนี้ไม่ได้เช่นกัน
ตัวอย่างการเลือกคณะ/ สาขาวิชา ในรอบ 3 ที่มี กสพท ร่วมด้วย
หมายเหตุ

 สาขาวิชาที่อยู่ใน กสพท ทั้งหมดจะไม่สามารถเป็นตัวเลือกนอก กพสท
 กสพท จะส่งสาขาวิชาที่ได้กลับคืนให้ TCAS เพียง 1 ลําดับ


วิชาความถนัดแพทย์

 ความถนัดแพทย์ คือ การสอบวิชาเฉพาะที่น้องๆ ที่ใฝ่ฝันอยากจะเข้าคณะแพทยศาสตร์ต้องคุ้นเคยกับชื่อสนามสอบนี้แน่นอน เพราะการสอบความถนัดแพทย์ เป็นการสอบวิชาเฉพาะ เพื่อวัดความสามารถส่วนบุคคล ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนสำหรับการเป็น “แพทย์” ในอนาคต โดยการสอบความถนัดแพทย์มีสัดส่วนคะแนนถึง 30% ต่อ 100% จึงนับว่าสำคัญมาก ไม่แพ้คะแนนจากการสอบวิชาสามัญอื่นๆ

ความถนัดแพทย์ สอบอะไร?

การสอบ “ความถนัดแพทย์” ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 3 Part หลักๆ คือ

Part 1
IQ 
หรือเชาว์ปัญญา ความสามารถในการคำนวณ การจับใจความ สังเคราะห์และคิด อย่างมีจิตวิญญาณ

     ส่วนนี้แนวข้อสอบจะเน้นไปที่คณิตศาสตร์เบื้องต้น อย่าง ตรรกศาสตร์ อนุกรม การจับคู่ ความสัมพันธ์ ฯลฯ และแนวภาษาไทยที่เป็นรูปแบบบทความ ให้อ่านเพื่อจับใจความ แล้ววิเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่พาร์ทนี้ต้องใช้เวลาในการคำนวณ คิด วิเคราะห์ และขึ้นชื่อว่าเป็นพาร์ทของความถนัดแพทย์ที่ยากที่สุด

ทริค : ฝึกทำโจทย์ให้เยอะเข้าไว้ เพื่อให้คุ้นเคยกับรูปแบบของโจทย์มากที่สุด

Part 2
จริยธรรมแพทย์

     ขึ้นชื่อว่าความถนัดแพทย์ ก็ต้องมีเรื่องจริยธรรมแพทย์เข้ามา แม้ข้อสอบในส่วนนี้จะชัดเจนว่าเน้นไปเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และไม่ต้องคิดคำนวณ เหมือนกับพาร์ทแรก แต่สิ่งที่ไม่ควรประมาทคือแนวโน้มข้อสอบมักเป็นกรณีและสถานการณ์ต่างๆ ทั่วไปในสังคม เนื้อข้อสอบค่อนข้างอ้างอิงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน น้องๆ จึงควรติดตามข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์สำคัญต่างๆ รอบตัวให้สม่ำเสมอ เพื่อฝึกคิดวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น การตัดสินใจ การให้เหตุผลตามกฏหมายแพทย์ เพราะใน 1 ข้อ อาจมีหลายคำตอบ แต่ได้คะแนนแตกต่างกันไป

Part 3
เชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล

     แนวโน้มข้อสอบของความถนัดแพทย์นั้นจะคล้ายกับ GAT ที่เป็นข้อสอบในรูปแบบบทความให้อ่าน แล้วกำหนดข้อความรหัสมาให้ เป็นการทดสอบทักษะในการอ่านบทความและการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อความที่โจทย์กำหนดมาได้อย่างถูกต้อง แม้พาร์ทนี้จะขึ้นชื่อว่าเป็นพาร์ทที่ง่ายที่สุดในการสอบ แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะยิ่งข้อสอบมีแนวโน้มง่ายมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องรอบคอบในการทำข้อสอบให้ดี เพื่อเก็บคะแนนให้ได้มากที่สุด
จะเห็นได้ว่าข้อสอบความถนัดแพทย์ ทั้ง 3 Part มีจุดเด่น ข้อแตกต่างกันอย่างชัดเจนหากน้องๆ จับใจความสำคัญของแต่ละ Part ให้ดี วางแผนการฝึกวิเคราะห์ ฝึกทำโจทย์มาก่อน และมีสติรอบคอบกับทุกข้อที่ทำ เชื่อว่าการที่จะได้คะแนนสูงในการสอบวิชาความถนัดแพทย์ ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

คลังข้อสอบวิชาเฉพาะแพทย์

Part เชาว์ปัญญา

ติวความถนัดแพทย์ กสพท 60 PART-เชาว์ปัญญา กับ พี่กอล์ฟ - WE BY THE BRAIN



ใจดีพี่เฉลยให้ ความถนัดแพทย์ PARTเชาวน์ปัญญา ปี57 By พี่แท็ป ALevel


We're OnDemand U're Medical ปี59 - ติวความถนัดแพทย์ พาร์ทเชาว์ปัญญา by พี่แท็ป ALevel



Part จริยธรรม

ติวความถนัดแพทย์ กสพท 60 PART-จริยธรรมทางการแพทย์ กับ พี่หมอปู - WE BY THE BRAIN


We're OnDemand U're Medical ปี59 - ติวความถนัดแพทย์ พาร์ทจริยธรรมทางการแพทย์ by พี่วิเวียน OnDemand



Part เชื่อมโยง


ติวความถนัดแพทย์ พาร์ทเชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผล | We're OnDemand U're Medical ปี60



ติวความถนัดแพทย์ กสพท 60 PART-ความคิดเชื่อมโยง กับ พี่ยู - WE BY THE BRAIN



ตัวอย่างข้อสอบวิชาเฉพาะแพทย์




ความถนัดเเพทย์ ondemand from firstnarak


ตัวอย่างข้อสอบ





กิจกรรมที่5

My project1 from dtwbkumamon จัดทำโดย 1. นางสาว วิสสุตา  บุญช่วย  ม.6/6  เลขที่ 5 2. นางสาว ชฏารัตน์  แดงบุญเรือง ม.6...